หน้าแรก
วิธีการทำงาน
ตัวอย่างผลงาน
ราคาค่าออกแบบ
ค้นหาโปรเจค
ค้นหาดีไซเนอร์
กฎสำหรับดีไซเนอร์
English Website Language
094-362-5614
บัญชีของฉัน
ไปยังบัญชีของฉัน
ต้องการขายผลงาน
ดูแบบที่ได้รับล่าสุด
แจ้งชำระเงิน
พิมพ์งานออกแบบ
ออกจากระบบ
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
สร้างโปรเจค
Eng
เรื่องน่ารู้ จาก ดินน้ำมัน
'ดินน้ำมัน' ของเล่นที่อยู่คู่กับเด็กมาช้านาน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ดินน้ำมันทำมาจากอะไร มีอันตรายแฝงอยู่หรือไม่ และต้องมีข้อควรระวังในการเล่นมากหรือน้อยแค่ไหน วันนี้มีคำตอบ
เรื่องดินน้ำมันกับเด็กๆ มีคำตอบจาก รศ.ดร.จุไรรัตน์ ดวงเดือน กรรมการสมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ว่า ดินน้ำมันเป็นของเล่นสำหรับพัฒนาการทางสมอง และกล้ามเนื้อมือของเด็ก และเสริมกิจกรรมในครอบครัว สมัยโบราณใช้ดินธรรมชาติจากแหล่งที่อยู่ซึ่งหาได้ง่ายผสมน้ำแล้วใช้ปั้นตุ๊กตาดิน เช่น ดินเหนียวเนื้อละเอียดสีเนื้อ สีเทา มีความเหนียว ต่อมานำผสมกับดินชนิดอื่น เพื่อให้คงรูปได้ง่าย และพัฒนารูปแบบให้เป็นที่น่าสนใจด้วยการแต่งสี กลิ่น เติมสารสังเคราะห์เพื่อความเหนียวนุ่ม มีลักษณะน่าใช้ และมีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมันซึ่งทำจากแป้งด้วย ทั้งนี้ ดินที่ใช้ทำดินน้ำมันมีหลายชนิด เช่น ดินเหนียว แร่ดิน เช่น คาโอลิไนต์, สเม็กไทต์ส เป็นต้น
ปัจจุบันมีวิธีการทำดินน้ำมันอย่างง่าย เช่น ใช้ดินแห้งแบบผง น้ำมัน น้ำมันเครื่องหรือจาระบี และขี้ผึ้ง หรือใช้ดินสอพอง น้ำมันเครื่องเบอร์ 50 พาราฟินแข็ง และสีผงชนิดสีน้ำมัน โดยเริ่มหลอมพาราฟินก่อนผสมน้ำมันเครื่อง จากนั้นเทลงในดินสอพองที่บดผสมกับสีแล้ว นวดให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืนและนวดต่อจนกระทั่งได้ดินน้ำมัน ความเหนียวขึ้นอยู่กับความหนืดของน้ำมันเครื่อง หรือใช้แป้งโดที่มีส่วนผสมหลักคือแป้งสาลี หรือแป้งอเนกประสงค์ น้ำ เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ น้ำมันพืช สารแต่งสีและกลิ่น
ข้อดี คือ การใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะใช้ส่วนผสมที่รับประทานได้
ข้อด้อย คือ เล่นได้ไม่นาน เพราะแข็ง มีกลิ่นหืนของแป้ง และอาจเกิดเชื้อรา ผู้ใหญ่ต้องคอยสังเกต ข้อแนะนำคือเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทในตู้เย็น ส่วนดินน้ำมันอื่นๆ เช่น ดินญี่ปุ่น มีส่วนผสมของกาวที่ได้จากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และสารกันเสีย นำกาวผสมกับแป้งสาลีหรือแป้งอเนกประสงค์ ทัลคัม น้ำมันพืช นวดเป็นเนื้อดียวกัน เติมทิชชูที่ฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ นวดให้เข้ากัน แต่งสี แต่งกลิ่น จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายดินน้ำมัน ใช้เล่นได้ประมาณ 1 อาทิตย์ ห้ามแช่ตู้เย็น
ข้อควรระวังในการเล่นดินน้ำมัน ดินน้ำมันรับประทานไม่ได้ หรือแม้แป้งปั้นที่ทำจากส่วนประกอบที่รับประทานได้ก็ต้องระวังไม่ให้เด็กกลืนเข้าไป เพราะมิได้ผลิตตามหลักโภชนาการ อาจมีการปนเปื้อนของสารต่างๆ ที่สำคัญต้องระมัดระวังไม่ให้เด็กใส่เข้าไปในจมูก เพราะหากหลุดลงไปอุดหลอดลม อาจทำให้ เด็กเสียชีวิตได้ ผู้ใหญ่ควรให้คำแนะนำและดูแลเด็กเล็กในการเล่นดินน้ำมันหรือแป้งปั้นอย่างถูกต้อง อาการที่ไม่พึงประสงค์ที่ อาจเกิดขึ้นคือ การเกิดอาการแพ้ส่วนผสมในดินน้ำมันและ แป้งปั้น
อาการที่พบบ่อยและมีรายงานจากการเล่นดินน้ำมันคือ อาการภูมิแพ้ โดยเฉพาะการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่สัมผัส โดยสารในดินน้ำมันก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น น้ำมันพืชที่ผลิตจากถั่ว สารกันเสีย น้ำมันเครื่อง มีรายงานการเกิดอาการแพ้ในเด็กที่เล่นแป้งปั้นที่มีประวัติแพ้สารในธัญพืชต่างๆ เมื่อสัมผัสแป้งปั้นที่ทำจากแป้งสาลีประมาณ 1 ชั่วโมง จะเกิดการระคายเคืองผิวหนัง คัน เกิดอาการบวมแดงที่ผิวหนังและหนังตา โดยส่วนใหญ่เกิดจากการแพ้โปรตีนในแป้ง คือ กลูเทน นอกจากนี้ สารกลุ่มละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง พาราฟิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ความเป็นพิษ ดินธรรมชาติมีการปนเปื้อนของโลหะหนักตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ไม่พบรายงานที่ก่อให้เกิดอันตราย อย่างไรก็ตามดินน้ำมันประเภทพอลิเมอร์อาจใส่สารกลุ่มพธาเลต ที่มีรายงานว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลองเมื่อให้ในปริมาณสูง ส่วนขี้ผึ้งบางประเภทมีความเป็นพิษต่อผิวหนังสูง ซึมเข้าไปในผิวหนังทำให้เกิดสิวได้
ข้อแนะนำในการเล่นดินน้ำมัน ต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังการเล่น วิธีเล่นที่ปลอดภัยคือสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัส แต่อาจทำให้ความสนุกเพลินเพลินลดลง
อ้างอิงจาก
http://www.thaihealth.or.th/
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
[Detail]
แชร์บน Facebook
บทความที่เกี่ยวข้อง
10 เทคนิคสีน้ำที่จำเป็นสำหรับนักออกแบบ
ทำความรู้จักกับเทคนิคสีน้ำที่มีอยู่มากมายเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้รูปแบบศิลปะ สีน้ำอาจเป็นสื่อกลางที่ยุ่งยาก แต่ถ้าคุณ...
22/06/2564 10:57
อ่าน : 4768 ครั้ง
ดีไซน์บรรจุภัณฑ์อย่างไรให้สวยงาม
กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจ และมีผลต่ออำนาจในการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งกล่าวไ...
09/02/2559 17:35
อ่าน : 8413 ครั้ง
Blue Ocean Strategy คืออะไร
เป็นแนวคิดที่มาจากนักวิชาการสองคนชื่อ W. Chan Kim และ Renee Mauborgne ซึ่งทั้งคู่เป็นอาจารย์จาก IN...
28/01/2559 20:03
อ่าน : 41916 ครั้ง