สกุลไฟล์สำหรับงานออกแบบ

สกุลไฟล์สำหรับงานออกแบบ
ในงานออกแบบแต่ละชิ้นนั้น นอกจากเรื่องของความสวยงามแล้ว ยังมีรายละเอียดในเรื่องของการนำเอางานออกแบบไปใช้งาน ซึ่งในส่วนนี้นักออกแบบจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ในเรื่องของรูปแบบของตัวงาน เช่น นำเอาไปใช้ทำอะไรแบบไหน และขนาดของพื้นที่ที่จะนำงานออกแบบไปใช้ ซึ่งในส่วนนี้เองที่ทำให้นักออกแบบจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า ไฟล์งานที่ใช้ส่งลูกค้าหรือส่งร้านทำป้ายนั้นควรจะเป็นไฟล์อะไร ซึ่งเราก็ได้รวบรวมไฟล์สกุลต่างๆ ที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆ มาฝากเพื่อนๆ กัน เผื่อว่าใครยังไม่ทราบว่าไฟล์ไหนเหมาะกับงานประเภทใดบ้าง
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
.Ai สำหรับไฟล์ .Ai นั้นเราจะเรียกอีกอย่างว่าไฟล์งานประเภทเวคเตอร์ ซึ่งไฟล์เวคเตอร์นั้นเมื่อเปิดใช้งานแล้ว เราจะสามารถปรับแต่งยืดหด หรือขยายในขนาดที่กว้างใหญ่แค่ไหนก็ได้ โดยคุณภาพของไฟล์จะยังคงเดิม ซึ่งงานออกแบบโลโก้ , ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ก็สามารถใช้ไฟล์นี้ได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ไฟล์ .Ai ยังสามารถส่งให้กับโรงพิมพ์หรือร้านทำป้ายต่างๆ ได้ทันที
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
.PSD ไฟล์ PSD นั้นจะเป็นไฟล์ที่เราสามารถเซฟได้โดยตรงจากโปรแกรม Photoshop โดยข้อดีของไฟล์นี้ก็คือ เมื่อเปิดขึ้นมาแล้ว เราจะสามารถดูง่ายแต่ละชิ้นผ่านการแยก Layer ของงานได้ทันที ซึ่งถ้าหากต้องการแก้ไข เราก็สามารถเลือกแก้ไขจาก Layer นั้นๆ ได้เลยทันที แต่สำหรับข้อเสียนั้นก็คือเราจะต้องกำหนดขนาดของตัวงานให้ถูกต้องและเหมาะสม เพราะถ้าหากมีการปรับแก้ขนาดให้ใหญ่ขึ้นนั้น ภาพอาจจะแตกได้และ ไฟล์ PSD นั้นเมื่อเซฟแล้วจะมีขนาดไฟล์ค่อนข้างใหญ่ ไฟล์นี้เหมาะสำหรับงาน ออกแบบโลโก้ , ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้เช่นกัน โดยสามารถส่งโรงพิมพ์ได้เหมือนกันกับไฟล์ Ai
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
.JPG สำหรับสกุลไฟล์นี้หลายคนน่าจะรู้จักและคุ้นเคยดี เพราะไฟล์ JPG นั้นเป็นไฟล์รูปภาพที่เราสามารถนำไปใช้งานในเวปไซต์ หรืองานพิมพ์เอกสารต่างๆ ได้ แต่ข้อจำกัดของไฟล์นี้ก็คือ ไม่สามารถขยายให้ใหญ่กว่าขนาดจริง ได้ เพราะถ้าหากขยายจนเกินมาตรฐานเดิม ภาพจะแตกและแทบจะดูไม่ออกเลยทีเดียว แต่ข้อดีของไฟล์นี้ก็คือขนาดไฟล์ที่เล็กมากๆ เมื่อเทียบกับไฟล์ PSD อย่างไรก็ตามไฟล์นี้เหมาะสำหรับงาน ออกแบบโลโก้ , ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องการนำเสนอให้กับลูกค้าดูก่อนจะดำเนินการผลิตจริงๆ
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
.PNG เป็นอีกไฟล์รูปภาพอีกสกุลหนึ่งซึ่งมีความคล้ายกับไฟล์ JPG แต่ความแตกต่างของไฟล์ตระกูล PNG ก็คือ การมีพื้นหลังที่โปร่งใส ซึ่งไฟล์ชนิดนี้เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการเน้นแค่ตัวโลโก้ หรืองานโลโก้บนเว็บไซต์ต่างๆ สำหรับไฟล์ประเภทนี้โดยทั่วไปแล้วมักจะใช้กับงาน ออกแบบโลโก้ เป็นส่วนมาก
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
.EPS สำหรับไฟล์นี้จะเป็นไฟล์ที่สะดวกและง่ายที่สุดในการส่งให้กับโรงพิมพ์หรือร้านทำป้ายต่างๆ เพราะเราสามารถเซฟทุกอย่างภายในงานเราอยู่ในไฟล์นี้ไฟล์เดียวได้ ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาลืมเซฟรูปลงไปในงาน หรือลืม Create Outline แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปถ้าหากเราเลือกเซฟด้วยไฟล์ EPS แต่ก็นั้นแหละครับ ด้วยความที่ไฟล์นี่มันสามารถเซฟทุกอย่างเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ขนาดไฟล์ของมันมีขนาดที่ใหญ่มหึมามากๆ ซึ่งบางครั้งก็ใช้เวลาเซฟและเปิดไฟล์ค่อนข้างนานเลยทีเดียว
ออกแบบโลโก้,รับออกแบบโลโก้,ออกแบบบรรจุภัณฑ์,ออกแบบฉลาก,ออกแบบโบรชัวร์,ออกแบบโบชัวร์,ออกแบบนามบัตร,ออกแบบโปสเตอร์,ออกแบบแบนเนอร์,ออกแบบปฏิทิน,ออกแบบผลิตภัณฑ์
และทั้งหมดนี้ก็คือประโยชน์และการใช้งานของไฟล์สกุลต่างๆ ที่เรามักจะพบเห็นในงานออกแบบ ก็หวังว่าจะช่วยไขข้อข้องใจให้กับนักออกแบบมือใหม่หรือผู้จ้างงานได้เกิดความกระจ่างเกี่ยวกับไฟล์งานขึ้นบ้างนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง